Private networks ของ IPv4 (สาเหตุว่า..ทำไมมันต้อง 192.168.x.x)

Private networks ของ IPv4 (สาเหตุว่า..ทำไมมันต้อง 192.168.x.x)


หมายเหตุ. บทความนี้จะปูพื้นฐานความรู้ สำหรับ "pfSense 2.0 Tutorial" หัวข้อ "เซต Network LAN ด้วย IP Class A/B"...


คุณเคยส่งสัยไหมว่าทำไม ระบบเลข IP ของเราเตอร์ทั่วๆไป.. ทำไม มันมักต้องเป็น 192.168.1.1 ด้วยล่ะ..?

สาเหตุคือ มันเป็นไปตามมาตฐาน Private networks ของ IPv4 ครับ


Private networks คืออะไร
ใน ที่นี้ มันเครื่องช่วงของเลข IP Address ที่สงวนไว้ สำหรับให้ใช้งานเป็นการส่วนตัว หรือสำหรับเน็ตเวิร์คภายในองค์กรนั้นเอง... เลข IP ที่เป็น Private networks จะไม่ซ่ำกับเลข IP ของ Public networks(เลขIPจริงๆที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต)

โดยมาตรฐานของ IPv4 นั้น(พูดตาม Classful ก่อนนะ) จะแบ่งออกเป็น 3 Class ด้วยกัน ก็คือ A, B และ C (จริงๆมี D กับ E ด้วยนะครับ แต่มันไม่ได้นำมาใช้เป็นเลขหมายประจำเครื่องครับ)

ข้อ แตกต่างสำคัญของ IP แต่ล่ะคราสคือ จำนวนลูกข่าย และจำนวณ Subnet ที่รองรับได้ (Subnet ก็คือการแบ่งช่วงเลขเป็นวงแลนย่อยๆ เช่น การใช้งานภายในบริษัท เราสามารถจัดเป็น subnetนี้สำหรับแผนกA และsubnetนี้สำหรับแผนกB แบ่งกันเป็นสัดเป็นส่วนได้ Subnetแต่ล่ะวงก็สามารถสวงนทรัพยากรไว้สำหรับวงตัวเองได้ เช่น เครื่องprinter, NAS เป็นต้น หรืออธิบายง่ายๆว่า โดยปกติแล้ว..เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างSubnetกัน จะไม่สามารถเข้าไปใช้เครื่องPrinterของSubnetอื่นได้ เป็นอันว่าเราสงวนเครื่องพิมพ์ตัวนี้ไว้เฉพาะวงแลนของแผนกเรา... ถ้าไม่งั่นคนเป็นAdmin จะต้องดูแลทรัพยากรต่างๆบนเน็ตเวิร์ค กันโลกแตกเลย)

โดย(ที่ควรจำ)...
- IP Class - C : จะมีจะมีลูกข่ายในแต่ล่ะวงSubnet ได้ไม่เกิน 256 เครื่อง
- IP Class - B : จะมีจะมีลูกข่ายในแต่ล่ะวงSubnet ได้ไม่เกิน 65,536 เครื่อง
- IP Class - A : จะมีจะมีลูกข่ายในแต่ล่ะวงSubnet ได้ไม่เกิน 16,777,216 เครื่อง
* จำนวนเครื่องของแต่ล่ะSubnet ยังต้องหัก Subnet ID กับ Broadcast Address ออกไปSubnetล่ะ2เลขด้วยนะครับ
(คนบ้านๆแบบเรา แค่จำความแตกต่างนี้ให้ขึ้นใจ ก็พอครับ.. เพราะนี่คือหัวใจของความแตกต่าง ในแต่ล่ะคราสครับ)

ซึ่งในแต่ล่ะคราส เพื่อความเข้าใจตรงกัน จึงมีการจัดช่วงเลขหมาย IP สำหรับเป็น Private networks เอาไว้ครับ (ตามมาตรฐานอ้างอิง RFC 1918)


เลข IP ที่เป็น Private networks ของแต่ล่ะคราสมีดังนี้
- Private networks ของ Class-C คือ ช่วง 192.168.0.0 -192.168.255.255
- Private networks ของ Class-B คือ ช่วง 172.16.0.0 - 172.31.255.255
- Private networks ของ Class-A คือ ช่วง 10.0.0.0 - 10.255.255.255

เมื่อ มาตรฐานเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เราเตอร์ทั่วไปตามบ้าน เลยใช้เลขIPในช่วง 192.168.x.x กันนั้นเองครับ (เพราะแต่ล่ะบ้านคงไม่มีคอมมากเกิน 254 เครื่องหรอกเนอะ... และที่เป็น254เครื่อง เพราะหักเลขIPของ Subnet ID กับ Broadcast Address ออกไปสองเลข จาก 256 ไงครับ)


คราวนี้เมื่อเราต้องพิจารณา วางผังเลขหมาย IP ภายในองค์กร... เราจะต้องพิจารณาอย่างไร
ขั้นแรก : ให้พิจารณาว่า เราจะจัด IP ในองกรณ์เรา แบ่งเป็นหลาย Subnet ไหม หรือใช้Subnetเดียวร่วมกันหมดทั้งองค์กรณ์เลย

ขั้นสอง : ให้พิจารณาว่าในแต่ล่ะวงของSubnet จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์กี่เครื่อง เช่น
- ถ้าแต่ละวงมีไม่เกิน 254 เครื่อง...ก็ให้เราเลือกใช้ช่วงเลข IP ใน Class-C
- ถ้าแต่ละวงมีเกิน 254 เครื่อง เช่น 300เครื่อง 400เครื่อง...กรณีนี้ ก็ให้เราเลือกใช้ช่วงเลข IP ใน Class-B
- ถ้าเป็นกรณีทำนองต้องแจก IP จำนวนมากๆ โดยไม่อยากต้องมาคำนึงเรื่อง Lease time มากนัก...ก็ให้เราเลือกใช้ช่วงเลข IP ใน Class-A (เยอะแยก..จนแจกไม่หวันไม่ไหว)

* นอกจากนี้ อาจเป็นเรื่องความสวยงามของตัวเลข เช่น บางองค์กรอาจมีคอมไม่ถึง 300 เครื่องหรอก แต่เลือกใช้ช่วง IP Class-A เพราะชอบที่เลย 10.0.0.x มันจำง่ายดี...(อันนี้ก็ตามใจกันไปนะ)

ส่วนเรื่องในเชิง ประสิทธิภาพ ขนาดของSubnetก็มีส่วนกับการกินกำลังประมวลผลของเราเตอร์นะครับ ถ้าSubnetวงใหญ่มากๆ ก็จะเปลื่องสมองซีพียูในการแจกแจงเลขหมายมากกว่า Subnet วงเล็กๆครับ... ฉะนั้นถ้าเรามีคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง ก็ไม่ควรเลือกขนาด Subnet ที่ใหญ่เกินตัวจนเวอร์ไปครับ... (ซึ่ง IP แต่ล่ะคราส กำหนดขนาดของ Subnet ด้วยเลข Netmask นั้นเอง)

บท ความนี้อาจยัง อ่านเข้าใจแล้วยากอยู่ แต่อย่างน้อยหวังว่าคุณผู้อ่านจะรู้ที่มาที่ไปของ IP Private networks และแนวทางการเลือกใช้เลข IP ที่เหมาะสมกับเน็ตเวิร์คของเรานะครับ

0 comments:

Post a Comment

 

Pfsense Thailand Copyright © 2011-2012 | Powered by Blogger